วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557

คลัทซ์ ดาบสองคมของ นักขับรถ

ปัจจุบัน นี้ผู้ขับรถรุ่นใหม่ทั้งหลายนิยมขับรถแบบเกียร์อัตโนมัติเป็นส่วนใหญ่เนื่อง ด้วยความสะดวกและง่ายในการควบคุมรถ แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยนิยมขับเกียร์ธรรมดาเพราะขับสนุกกว่าหลายเท่า แต่ทั้งนี้จะต้องเหยียบคลัทซ์ควบคู่ด้วยเสมอไม่ว่าจะเป็นการเบารถ เหยียบเบรก เลี้ยวรถ แถมบางคนยังได้รับการบอกต่อๆกันมาว่าถ้ากลัวเครื่องยนต์ดับก็ให้เยียบคลัท ซ์ไว้

       ในการไปสอบใบขับขี่จากทางราชการก็เช่นเดียวกัน เจ้าหน้าที่จะไม่ดูพฤติกรรมการัขบรถของผู้เข้าทดสอบในเรื่องการใช้คลัทซ์เลย ความจริงแล้ว"คลัทซ์"นั้นคือมหันตภัยที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุใหญ่หลวงหากผู้ ขับใช้บ่อยอย่างพร่ำเพรื่อเกินไป การเหยียบคลัทซ์แล้วปล่อยให้รถวิ่งไปมีค่าเท่ากับปล่อยเกียร์ว่างเช่นเดียว กับที่เรียกว่า "Coasting"ในการสอบใบขับขี่สำหรับประเทศที่มาตรฐานสูงอย่างประเทศอังกฤษจะ ให้ผู้ที่มีพฤติกรรมแบบนี้สอบตกทันที

       เกียร์ไปยังล้อรถยนต์ ขณะที่รถวิ่งและยังอยู่ในเกียร์แรงฉุดจากเครื่องยนต์จะถ่ายทอดกำลังไปกดที่ ล้อรถเพื่อช่วยให้ล้อเกาะติดถกับพื้นถนน ดังนั้นในเมื่อขับรถอยู่หากผู้ขับไปเหยียบคลัทซ์เข้าไม่ว่าจะเป็นจากความเคย ชินหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์จะทำให้แรงกดถนนจากเครื่องยนต์ถูกตัดขาดไป รถจะไม่เกาะถนน หากถนนลื่นหรือมีการหักเลี้ยวรถจะหมุนโดยทันทีโดยเฉพาะกับผู้ที่เคยชินกับ การเบรกพร้อมกับเหยียบคลัทซ์ไปด้วยจะทำให้รถพุ่งไปข้างหน้าเร็วขึ้นเพราะแรง ฉุดจากเครื่องยนต์ได้ถูกตัดขาดไป การเบรกก็จะยากขึ้นอีกเท่าตัว
อุบัติเหตุทางรถยนต์ ทุกวันนี้สาเหตุหนึ่งก็คือการใช้คลัทซ์เกินความจำเป็นนั่นเอง อาทิ จะเบรกก็เหยียบคลัทซ์ รถขึ้นเขา-เลี้ยงคัลทซ์ สิ่งเหล่านี้เรียกนี้ว่า "Coasting" จึงมีข้อแนะนำให้ผู้ใช้รถลองเปลี่ยนอุปนิสัยการใช้คลัทซ์ใหม่ อย่างเช่นลองเหยียบคลัทซ์ต่อเมื่อเปลี่ยนเกียร์หรือขับช้าเพื่อเข้าที่แคบๆ เท่านั้นเอง หรืออีกแบบขณะที่ขับรถมามีเหตุให้ต้องเบารถก็เพียงแค่ยกคันเร่งรถก็จะเบาลง หากเมื่อยกคันเร่งแล้วความเร็วยังไม่ลดตามที่ต้องการก็ใช้เท้าขวาแตะเบรก เบาๆแต่ห้ามไปเหยียบคลัทซ์เป็นอันขาด

หากจำเป็นจะต้องหยุด รถโดยทันทีให้เหยียบเบรกลงไปอย่างแรงและไม่ต้องเหยียบคลัทซ์จนรถหยุดเกือบ สนิทแล้วจึงเหยียบคลัทซ์พร้อมกับปลดเกียร์ว่าง ซึ่งการฝึกแบบนี้จะช่วยให้ควบคุมรถง่ายขึ้นไม่ปัดซ้ายขวาถึงแม้ถนนลื่น อย่างไรก็ตามควรระวังเท้าซ้ายเพราะเป็นเท้าที่เหยียบคลัทซ์เมื่อรถออกตัว เต็มที่ให้เอาเท้าซ้ายวางไว้ที่พื้น ไม่ต้องไปเหยียบคลัทซ์
       พฤติกรรมแบบนี้ผู้ขับจะต้องฝึกบ่อยๆและสลัดของเก่าๆที่เคยชินออกไป เมื่อนั้นก็จะเป็นนักขับที่ถูกต้องลดอันตรายลงไปมาก เห็นไหมครับว่าคลัทซ์นั้นมีทั้งประโยชน์และโทษเท่าๆกัน เพียงแต่เราต้องใช้ให้ถูกวิธืเท่านั้นเอง.......

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ap Auto Car - รถหลุดจำนำ

รถหลุดจำนำ ซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์หลุดจำนำ สินเชื่อรถยนต์ จำนำจอด จำนำทะเบียนรถยนต์ สนใจติดต่อ คุณอำนาจ(อั้ม)Tel. 088-1629-456 https://www.facebook.com/amnartpantasan?fref

About Me

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Blog Archive